kcdintertrade@gmail.com

เวลาเปิด

จันทร์ - ศุกร์: 9:00 - 18:00



เริ่มต้นกันตั้งแต่รู้จักวิถีชีวิตของนกนางแอ่น มาเลือกทำเลการสร้างบ้านนก เรียนรู้วิธีการวางระบบในบ้านนกแล้ว เอาล่ะน่าจะผ่านมาได้ซัก 2-3 ปี จนเริ่มมีนกนางแอ่นเข้ามาอาศัยอยู่ภายในบ้านนกของเราบ้างแล้ว นับๆได้ น่าจะหลักร้อย หลักพันตัวก่อน ทีนี้เราจะเริ่มเก็บรังนกได้รึยังล่ะ??

เท้าความกันก่อน นกนางแอ่นเมื่อผสมพันธุ์แล้วจะรีบทำรังทันที มักจะออกไข่ครั้งละ 1-2 ฟอง กกไข่และเลี้ยงลูกจนรอดชีวิตในระยะเวลา 3 เดือน จากนั้นก็จะบินออกจากรังไปหาอาหารตั้งแต่ตีห้าไปจนพลบค่ำ พ่อและแม่นกสร้างรังด้วยน้ำลายเป็นสีขาวลักษณะเหมือนถ้วย นำหนักรังเฉลี่ย 8 กรัม ใช้เวลาสร้าง 30-45 วัน หลังสร้างรังเสร็จ จะผสมพันธุ์ในเวลากลางคืน หลังจากนั้น 5 วันจะเริ่มวางไข่ใบแรกและวันที่ 8 จะวางไข่ใบที่ 2 (ครั้งละ 2 ฟอง) น้ำหนัก 1.2 กรัม ไข่จะฟักในเวลา 21-29 วัน 1 สัปดาห์หลังจากการฟัก ขนจะเริ่มขึ้น และอายุ 2 สัปดาห์จะเริ่มเกาะรัง พ่อและแม่นกจะหาอาหารมาให้ จนลูกนกมีขนขึ้นเต็มเมื่ออายุ 45 วันและออกบินเพื่อหาอาหารด้วยตัวเอง

เพื่อความเข้าใจง่าย เราแบ่งเป็น 2 ช่วงเวลา ช่วงแรก เมื่อแม่นกพ่อนกเริ่มทำรังเพื่อรอลูกของมัน มันจะต่อยๆแต้มน้ำลายสีขาวนั้นขึ้นจากฐานด้านล่าง สูงขึ้นไปเรื่อยๆ ให้พอกับไข่ที่กำลังจะออกมา จะได้เป็นรังสีขาวนวล เรียกว่า “รังนม” เพื่อรอรับลูกๆ ซึ่งเราจะไม่เก็บรังนมนั้น เพราะถือว่าเป็นรังแรกของแม่นก หากมันกลับมาและเห็นว่ารังแรกของมันหายไป มันอาจจะออกจากบ้านไปอาศัยที่อื่นแทน ซึ่งช่วงเวลาที่เราเข้าไปเก็บรังนกจะเป็นช่วงหลังจากที่นกบินออกจากบ้านไปหากิน ถึงก่อนเที่ยง ดังนั้นเราจะไม่เห็นตัวพ่อและแม่นกอยู่เลย เป็นการยากที่จะสังเกตุได้ว่ารังนกนั้นเป็นรังนมหรือไม่ ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญจากผู้เก็บเท่านั้น

ช่วงที่สอง หลังจากที่ลูกนกลอตแรกเจริญเติบโต สามารถบินออกไปหาอาหารได้เองและทิ้งรังแล้ว พ่อและแม่นกจะผสมพันธุ์กันตามฤดูกาลอีกครั้ง และทำรังใหม่เพื่อรองรับลูกตัวใหม่ของมันตรงที่เดิม (ทำรังชั้นที่ 2) ดังนั้นเราสามารถเก็บรังนกลอตแรกที่ลูกนกทิ้งรังไปได้ อันนี้จะสังเกตุง่ายกว่า เพราะจะมีเศษเปลือกไข่ของตัวมันตกอยู่ที่ก้นรัง แสดงว่ารังนี้มีไข่ที่ฝักเป็นตัวเรียบร้อยแล้ว หากว่าเราไม่เก็บหรือเก็บช้าไป แม่นกจะกลับมาวางไข่อีกครั้ง และต้องรอรอบถัดไปจนกว่าลูกนกลอตสองจะฟักและทิ้งรัง ดังนั้นหากไม่ได้เก็บรังนกเลย รังนกที่ได้จะมีความหนามาก(ยิ่งเฉพาะตรงก้นรัง) เรียกว่า “รังคอนโด” และรูปทรงไม่สวยงาม

ดังนั้นรังนกใดที่สามารถเก็บได้ ประสบการณ์ของผู้เก็บมีความสำคัญอย่างยิ่ง อีกทั้งการเก็บรังนกต้องมีความระมัดระวังเช่น

– ใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งที่เข้าไปเก็บรังนก เพื่อป้องกันกลิ่นและตัวไร

– ไม่ส่งเสียงดังรบกวนนก

– เวลาเข้าบ้านนกไม่ควรฉีดน้ำหอม สเปรย์ฉีดผม หรือสารเคมีอื่นๆ

– หากอยู่ในช่วงหน้าร้อน และความชื้นไม่เพียงพอ รังนกจะมีความกรอบ หากแซะแรงจะทำให้รังแตก

– หากอยู่ในช่วงหน้าฝน และอากาศชื้นเกินไป รังนกจะมีความเหนียว แซะยาก หากทำไม่ดี รังจะฉีก

– ต้องสังเกตุให้ดีว่ารังนกที่จะเก็บ มีไข่ หรือลูกนกอยู่หรือไม่ หากมีเราจะไม่เก็บเด็ดขาด

ความเชื่อเก่าๆที่ว่า กินรังนกเป็นการรังแกสัตว์ แย่งบ้านของนก นั่นมาจากคนที่ไม่มีความเข้าใจในธรรมชาติของนกนางแอ่น หากเปิดใจและพิจารณาดีๆแล้ว การสร้างบ้านนกถือเป็นการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุดเพื่อการขยายพันธุ์ของนกนางแอ่นให้มีปริมาณเพิ่มขึ้นๆ (อัตราการรอดของนกที่อาศัยตามถ้ำธรรมชาติ 20 % แต่อัตราการรอดของนกที่อาศัยตามบ้านนกหรือคอนโดนกมีถึง 64.4 % ) เพราะคงไม่มีใครอยากจะให้นกไปอาศัยอยู่ที่อื่น จริงมั้ย?

ตอนที่ 1 รู้จักนกนางแอ่น

ตอนที่ 2 แหล่งที่ตั้งของบ้านนก

ตอนที่ 3 การสร้างบ้านนก

ตอนที่ 5 การทำความสะอาดรังนก

ตอนที่ 6 การดูแลบ้านนก

ตอนที่ 7 คำถามน่าสงสัยเกี่ยวกับรังนก

Website : www.shewonthaibirdnest.com

บทความแนะนำ

แสดงความคิดเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *